Our social:

Latest Post

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ปีใหม่นี้เที่ยวอุทยานแห่งชาติฟรี. !! ทั่วประเทศ 31 ธันวาคม 2559 ถึง 1 มกราคม 2560

ปีใหม่นี้เที่ยวอุทยานแห่งชาติฟรี. !! ทั่วประเทศ

31 ธันวาคม 2559 ถึง 1 มกราคม 2560
เที่ยวอุทยานสุขใจ..ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

จับ 2 หนุ่มลอบตัดไม้พะยูง ในเขตอุทยานภูพาน

" จับ 2 หนุ่มลอบตัดไม้พะยูง ในเขตอุทยานภูพาน "

(29 ธ.ค.59) นายวิมล อึ้งพรหมบัณฑิต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูพาน ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่หน่วยห้วยเวียนไพรร่วมกับสายตรวจส่วนกลางออกตรวจลาดลาดตระเวน บริเวณ ป่าภูเขียว ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร พบมีการตัดไม้ในเขตพื้นที่อุทยานฯ จึงได้เข้าดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิด เพศชาย จำนวน 2 ราย และตรวจยึดของกลางในการกระทำผิด ไม้พะยูง 5 ท่อน อุปกรณ์ที่ใช้กระทำผิด เลื่อยตัด 1 ปื้น
จากนั้นเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ได้นำตัว ผู้ต้องหาและของกลาง ส่งพนักงานสอบสวน สภ.ตาดโตน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ที่มา : นายวิมล อึ้งพรหมบัณฑิต
หัวหน้าอุทยานภูพาน

รายชื่ออุทยานแห่งชาติ150แห่ง


สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี)
1 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 
2 อุทยานแห่งชาติตาพระยา 
3 อุทยานแห่งชาติทับลาน
4 อุทยานแห่งชาติปางสีดา 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่1 สาขาสระบุรี
5 อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น 
6 อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
7 อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง 
8 อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด 
9 อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
10 อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎู 
11 อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น
12 อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว
13 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)
14 อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
15 อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์
16 อุทยานแห่งชาติเขาแหลม 
17 อุทยานแห่งชาติไทรโยค
18 อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
19 อุทยานแห่งชาติพุเตย
20 อุทยานแห่งชาติลำคลองงู
21 อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
22 อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่3 สาขาเพชรบุรี
23 อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
24 อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
25 อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
26 อุทยานแห่งชาติหาดวนกร
27 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
28 อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี)
29 อุทยานแห่งชาติเขาสก
30 อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง
31 อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น
32 อุทยานแห่งชาติคลองพนม
33 อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว
34 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
35 อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี
36 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร
37 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง 
38 อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพะงัน 
39 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
40 อุทยานแห่งชาติเขานัน
41 อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
42 อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
43 อุทยานแห่งชาติเขาหลวง
44 อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
45 อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
46 อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
47 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
48 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
49 อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ 
50 อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
51 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
52 อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
53 อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด
54 อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
55 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
56 อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
57 อุทยานแห่งชาติสิรินาถ
58 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
59 อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา)
60 อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า
61 อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี 
62 อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี
63 อุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป 
64 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว
65 อุทยานแห่งชาติบางลาง
66 อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
67 อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)
68 อุทยานแห่งชาติตาดโตน
69 อุทยานแห่งชาติไทรทอง
70 อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
71 อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 (ขอนแก่น)
72 อุทยานแห่งชาติภูเรือ
73 อุทยานแห่งชาติภูเวียง
74 อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
75 อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
76 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
77 อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
78 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
79 อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
80 อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
81 อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
82 อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
83 อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี)
84 อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก
85 อุทยานแห่งชาติภูพาน
86 อุทยานแห่งชาติภูลังกา
87 อุทยานแห่งชาติภูผายล
88 อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
89 อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
90 อุทยานแห่งชาติภูผายา
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก)
91 อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
92 อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
93 อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
94 อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
95 อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
96 อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
97 อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
98 อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
99 อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
100 อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ (คลองตรอน)
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)
101 อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
102 อุทยานแห่งชาติคลองลาน
103 อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
104 อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
105 อุทยานแห่งชาติแม่ยม
106 อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง
107 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
108 อุทยานแห่งชาติแม่จริม
109 อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
110 อุทยานแห่งชาตินันทบุรี 
111 อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน 
112 อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
113 อุทยานแห่งชาติขุนสถาน 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง
114 อุทยานแห่งชาติแม่วะ
115 อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
116 อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
117 อุทยานแห่งชาติดอยจง 
118 อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท 
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก)
119 อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
120 อุทยานแห่งชาติลานสาง
121 อุทยานแห่งชาติแม่เมย
122 อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
123 อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ 
124 อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
125 อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
126 อุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นหิน
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย)
127 อุทยานแห่งชาติขุนแจ
128 อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
129 อุทยานแห่งชาติแม่ปืม
130 อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
131 อุทยานแห่งชาติภูซาง
132 อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)
133 อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
134 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
135 อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
136 อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา 
137 อุทยานแห่งชาติผาแดง 
138 อุทยานแห่งชาติแม่โถ 
139 อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ 
140 อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
141 อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก
142 อุทยานแห่งชาติแม่วาง
143 อุทยานแห่งชาติขุนขาน
144 อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
145 อุทยานแห่งชาติออบขาน 
146 อุทยานแห่งชาติออบหลวง
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง
147 อุทยานแห่งชาติสาละวิน
148 อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ
149 อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์
150 อุทยานแห่งชาติแม่เงา 

แจ้งเรื่องร้องเรียน



แจ้งเรื่องร้องเรียน ให้ทางอุทยานแห่งชาติรับทราบ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อุทยานฯเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน สนธิกำลังจับกุม 9ผู้ต้องหา แอบล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยานฯ

"หัวหน้าอุทยานฯเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน สนธิกำลังจับกุม 9ผู้ต้องหา แอบล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยานฯ พร้อมของกลางอาวุธและซากสัตว์ป่าจำนวนมาก"

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค 59 เวลา 7.30 น. นายอดุล ทำไธสง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ ราชบุรี 3(พุยาง) สนธิกำลังหน่วยทหาร ฝ่ายปกครองท้องถิ่น เข้าจับกุมผู้ลักลอบล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยานฯเฉลิมพระเกียรติไทยประจันได้ 9 คน พร้อมของกลางอาวุธปืนลูกซอง 3 กระบอก อาวุธปืนลูกกรดติดลำกล้อง 3 กระบอก อาวุธปืนสั้น 11 ม.ม. 1 กระบอก พร้อมเครื่องกระสุนปืน อาวุธมีดพก 6 เล่ม รถยนต์กระบะยี่ โตโยต้าสีขาว ขับเคลื่อน 4 ล้อ ทะเบียน บน-8800 นนทบุรี มอร์เตอร์ไซด์วิบาก 2 คัน ซากอีเห็น 1 ตัว ซากกระรอก 2 ตัว ซากกบทูต 1 ตัว แจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันกระทำความผิดล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติฯโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางทั้งหมดส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปากท่อ ดำเนินคดีตามกฎหมาย



ที่มา : นายอดุลย์ ทำไธสง
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน

ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในสำนักอุทยานแห่งชาติ

"ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในสำนักอุทยานแห่งชาติ"





วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กรมอุทยานฯ เตรียมประกาศ น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ ๑๒๙ หลังมีกำหนดบริเวณพื้นที่อุทยานเพิ่มในราชกิจจานุเบกษา

" กรมอุทยานฯ เตรียมประกาศ น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ ๑๒๙ หลังมีกำหนดบริเวณพื้นที่อุทยานเพิ่มในราชกิจจานุเบกษา"
ตามประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐๙ ก วันที่ ๒๖ ธ.ค. ๒๕๙๙ เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าทับกวางและป่ามวกเหล็ก แปลงที่ ๑ และป่าดงพญาเย็น ในท้องที่ต.คำพราน ต.แสลงพัน อ.วังม่วง ต.หนองย่างเสือ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๙๙
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวิชาราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดบริเวณที่ดินป่าทับกวางและป่ามวกเหล็ก แปลงที่ ๑ และป่าดงพญาเย็นในท้องที่ ต.คำพราน ต.แสลงพัน อ.วังม่วง ต.หนองย่างเสือ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ และมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าทับกวางและป่ามวกเหล็ก แปลงที่ ๑ และป่าดงพญาเย็นในท้องที่ ต.คำพราน ต.แสลงพัน อ.วังม่วง ต.หนองย่างเสือ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๙๙
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้บริเวณและป่าดงพญาเย็นในท้องที่ ต.คำพราน ต.แสลงพัน อ.วังม่วง ต.หนองย่างเสือ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นอุทยานแห่งชาติ
มาตรา ๔ ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยรัฐมนตรี
โดยพื้นที่ ดังกล่าว ครอบคลุม อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย(เตรียมการ) นับเป็นอุทยานแห่งแรกในรัชกาลที่ ๑๐ และถือเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๑๒๙

ข้อมูล : http://www.ratchakitcha.soc.go.th
ภาพ : facebook อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย อ. มวกเหล็ก จ.สระบุรี

อุทยานแห่งชาติแห่งชาติน้ำหนาว

อุทยานแห่งชาติแห่งชาติน้ำหนาว เขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ อีกหนึ่งสมบูรณ์ของป่าเมืองไทย "

มาทำความรู้จัก อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อีกหนึ่งอุทยานทางเลือกแห่งความงาม และอุทยานที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้เกี่ยวกับการขยายถนนผ่านพื้นที่อุทยานฯ เพราะว่า อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ระหว่างเขตรอยต่อภาคอีสานและภาคเหนือ หากมีการขยายเส้นทางจะทำให้การคมนาคมสะดวกมากยิ่งขึ้น
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่ หรือ 966 ตารางกิโลเมตร
ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตกั้นระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวผ่านจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นเนินยอดป้านที่เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกบริเวณนี้ในอดีต มีความสูงอยู่ระหว่าง 650-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วย ภูผาจิต ภูกุ่มข้าว โดยภูด่านอีป้องเป็นจุดสูงสุด มีความสูง 1,271 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบขึ้นเป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของลำธารสายยาว เช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย ห้วยขอนแก่น ห้วยน้ำเชิญ ซึ่งไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนจุฬาภรณ์

โดยทั่วไปอากาศหนาวเย็นในตอนดึกและตอนเช้า ส่วนใหญ่ตอนกลางวันอากาศเย็นสบาย จึงกล่าวได้ว่า อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25 องศาเซลเซียส ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ส่วนใหญ่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก จนบางครั้งน้ำค้างจะกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในเดือนธันวาคมและมกราคม ซึ่งในบางปีอุณหภูมิจะลดต่ำถึง 0 องศาเซลเซียส ป่าน้ำหนาวเป็นป่าไม้ผืนใหญ่ติดต่อกัน ประกอบด้วยป่าหลายชนิดประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา
และ ป่าเต็งรัง

เนื่องจากป่าส่วนหนึ่งเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้าและป่าดิบ มีดินโปร่งและน้ำไหลผ่านตลอดปี จึงทำให้ป่านี้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า เก้ง เสือโคร่ง เสือดาว ค่าง หมี
ควาย หมีคน เลียงผา หมาป่า กระจง เม่น หมูป่า กระต่ายป่า ค้างคาวมงกุฎหูโตมาร์แชล ค้างคาวไอ้แหว่งน้อย เต่าปูลู และเต่าเดือย สำหรับช้างป่านั้นมีอยู่ทั่วไป ซึ่งเราจะเห็นกองมูลช้างที่ถ่ายไว้ริมทางหลวงอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ มากว่า 200 ชนิด ตามทางเดินในป่าจะพบนกสีสวยๆ อยู่เสมอ เช่น นกแก้ว นกขุนแผน นกหก นกพญาปากกว้าง นกเดินดง นกแต้วแร้ว นกโพระดก นกหัวขวาน นกเหงือก นกกระจ้อย นกกินแมลงชนิดต่างๆ ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ป่า เป็นต้น และยังมีความหลากหลายของผีเสื้อมากกว่า 340 ชนิด

ข้อมูล : สำนักอุทยานแห่งชาติ
ภาพ : Facebook อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว (Namnao National Park)
https://www.facebook.com/DNP1362/?fref=ts